เมนู

อธิมฺตฺติ จะได้ถูกพระอัธยาศัยแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้านั้นก็หามิได้ เนโส ปณฺฑิตานํ ฉนฺโท
จะเป็นที่ชอบเนื้อเจริญใตแห่งบัณฑิตชาตินักปราชญ์ทั้งหลายนั้นก็หามิได้ ด้วยเหตุว่าเป็นถ้อยคำ
ไม่ตรงกับพระธรรมเทศนา ที่พระตถาคตเจ้าตรัสไว้ในพระไตรลักษณ์ว่า ธรรมชาติทั้งปวง เป็น
ภินทนธรรมมีสภาวะจะแตกจะทำลายหมดสิ้นทั้งนั้น ตตฺถ การณํ อตฺถิ แต่ที่ว่าบริษัทของ
พระตถาคตไม่รู้แตกไม่รู้ทำลายนั้น เป็นเพราะมีเหตุที่พระองค์ทรงประพฤติสังคหวัตถุธรรมทั้ง
4 ประการบริบูรณ์เต็มที่ ไม่ทรงประพฤติธรรมอันเป็นข้าศึกแก่สังคหวัตถุทั้ง 4 นั้นเลย
มหาบพิตรเคยทรงสดับบ้างหรือไม่ว่า ยโต กุโตปิ แต่ไหนแต่ไรมา พระตถาคตเจ้าทรงหยิบ
ฉวยถือเอาของที่เขามิได้ให้ หรือตรัสปราศรัยพระวาจาอันไม่น่ารัก เป็นเครื่องชักให้บาดหู
และสมเด็จพระบรมครูประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น วางพระองค์ไว้ในฐานไม่
สม่ำเสมอ เป็นคนประพฤติลำเอียงไม่เที่ยงธรรมด้วยอำนาจอคติดังนี้ อาตมามิได้เคยสดับเลย
เตน วุจฺจติ ตถาคโต อเภชฺชปริโส เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย จึงกล่าวสรรเสริญพระ
องค์ว่า พระตถาคตเป็นผู้มีบริษัทไม่รู้แตกไม่รู้ทำลายดังนี้ ตยา เจตํ มหาราช ดูรานะบพิตร
พระราชสมภารผู้ประเสริฐ มหาบพิตรเคยได้ยินได้ฟังได้ทรงทราบบ้างหรือว่า ในพระพุทธพจน์
อันประกอบด้วยองค์ 9 ประการ คัมภีร์ใด นิกายใด สูตรใด มีบ้างหรือว่า บริษัทของพระ
ตถาคตแตกทำลายออกไปด้วยเหตุนี้ ๆ ที่พระองค์ทรงกระทำไว้ ในเวลาที่ยังเสวยพระชาติ
เป็นพระโพธิสัตว์ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา ความข้อนี้จะได้มีในโลกหามิได้ โยมก็ยังไม่ได้ฟัง พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนามานี้
ไพเราะเพราะนักหนา สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับเอาถ้อยคำจำไว้ในกาลบัดนี้
ตถาคตัสส อเภชชปริสปัญหา คำรบ 8 จบเพียงนี้

อชานันตัสส ปาปกรณอปุญญปัญหา ที่ 9


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามอรรถปัญหาอื่นเล่าว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้าว่าไว้กับโยมแต่ก่อนนั้นว่า
โย ปุคฺคโล บุคคลจำพวกใดไม่รู้จักบาปกรรม และกระทำบาปกรรมมีปาณาติบาต เป็นต้นได้บาป
มาก แล้วกลับว่าสมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิภาคมีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ในวินัยบัญญัติว่า พระ


ภิกษุกระทำกรรมด้วยไม่รู้หาอาบัติมิได้ ตกว่าคำทั้งสองไม่ต้องกัน จะเชื่อเอาคำที่ว่าไม่รู้กระทำ
กรรมหาอาบัติมิได้นี้ คำเดิมที่ว่าบุคคลไม่รู้ กระทำบาปกรรม ได้บาปกรรมมากก็จะผิด ครั้นจะ
เชื่อเอาคำเดิมว่า บุคคลไม่รู้กระทำบาปกรรมได้บาปกรรมมากนี้ คำภายหลัง ว่าพระภิกษุไม่
รู้กระทำบาปกรรมหาอาบัติมิได้ก็จะผิด อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้เป็น อุภโตโกฏิ ทุรุตฺตโม
เหมือนทางไกลสุดโสดแสนยากที่จะจร ทุปฺปารคามี ดุจสาครมหาสมุทรสุดที่จะข้ามฝั่งได้ ปัญหา
นี้เคลือบแคลงเป็นที่สงสัยนักหนา ตฺวานุปฺปตฺโต มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนา
ในกาลบัดนี้
พระนาคเสนผู้ประเสริฐสงฆ์องค์อรหันต์ปัญญาปฏิสัมภิทา มีอริยวาจาตอบว่า มหา-
ราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในมไหสุริยศฤงคาร สมเด็จพระศาสดา
จารย์โปรดประทานไว้ว่า บุคคลผู้ใดมิได้รู้จักบาปกรรม มากระทำบาปกรรมได้บาปกรรมมาก
สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงสวัสดิภาคมีพระพุทธฎีกาบัญญัติในวินัยว่า ภิกษุไม่รู้และกระทำซึ่ง
กรรมนั้นหาอาบัติมิได้ ความทั้งสองนี้ อตฺถนฺตรํ มีอรรถแปลกกัน คำที่ว่าไม่รู้หาอาบัติมิได้นั้น
คือ ภิกษุกระทำซึ่งกรรมอันใด ด้วยจิตมิได้มีสัญญารู้เห็น คือ มิได้สำคัญ ไม่ทันรู้สึกว่า
สัญญาวิโมกข์ สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้า อารพฺภ ปรารถนาเอาสัญญาวิโมกข์นั้น จึงบัญญัติว่า
พระภิกษุไม่สำคัญไม่ทันรู้ กระทำกรรมหาอาบัติมิได้ ต่างกันกับตรัสไว้ในพระสูตรที่ว่าบุคคลไม่
รู้จักว่าบาปกรรม ทำบาปกรรม ได้บาปกรรม ได้บาปมาก จะได้เถียงกันหาบ่มิได้ บพิตรพระราชสมภาร
พึงเข้าพระทัยด้วยประการดังนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ปัญหาพยากรณ์พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขนี้ สาธุ ดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า โยมจะ
รับประทานไว้เป็นข้อปฏิบัติ
อชานันตัสส ปาปกรณอปุญญปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้


ภิกขุคณอเปกขภาวปัญหา ที่ 10


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสาดจารย์ มีพระพุทธฎีกาโปรดประทาน
ดังนี้ว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์ จิตตถาคตนี้มาปริวิตกว่าจะไม่บริหารปกครองภิกษุสงฆ์
และจะไม่เป็นกังลงยกย่องภิกษุสงฆ์ สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสประภาษไว้ฉะนี้ ครั้นมาอีกที
หนึ่งเล่า สมเด็จพระอนาวรณญาณเจ้า เมื่อสรรเสริญสภาวคุณแห่งสมเด็จพระเมตไตรยโพธิ
สัตว์เจ้า อันจะมาตรัสในอนาคตกาลภายหน้านั้น สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้ามีพระพุทธฎีกา
ตรัสว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้เหนื่อยหน่ายในวัฏสงสาร สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า
เมื่อมาตรัสนั้น พระองค์จะบริหารปกครองพระภิกษุสงฆ์มากกว่าพัน เหมือนตถาคตบริหาร
ปกครองพระภิกษุสงฆ์มากกว่าร้อยอยู่ทุกวันนี้ โยมรำพึงดูคำทั้งสองนี่ไม่ต้องกัน จะเชื่อคำ
ภายหลังที่ตรัสว่า สมเด็จพระพุทธเมตไตรยมาตรัส จักบริหารปกครองภิกษุสงฆ์มากกว่าพัน
ทุกวันนี้ตถาคตนี้บริหารปกครองภิกษุสงฆ์มากกว่าร้อย คำเดิมที่ตรัสว่าไม่ดำริที่จะบริหาร
พระภิกษุสงฆ์และไม่เป็นกังวลยกย่องภิกษุสงฆ์คำนี้ก็เป็นมิจฉา ครั้นว่าจะเชื่อเอาคำเดิมนี้
คำภายหลังก็จะผิด อยํ ปญฺโห ปริศนานี้เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์โปรดวิสัชนาในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ภาสิตเมตํ มหาราช ภควตา ขอถวายพระพร บพิตรพระ
ราชสมภาร คำทั้งสองประการที่สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ มีพระพุทธฎีกาโปรดประทาน
ไว้วา ดูกรสำแดงอานนท์ เอวํ จิตฺตํ จิตของตถาถตนี้มาปริวิตกว่าจะไม่บริหารปกครองภิกษุ
สงฆ์ และจะไม่เป็นกังวลยกย่องภิกษุสงฆ์ คำเดิมว่ากระนี้ ครั้นมาภายหลังเล่า สมเด็จพระ
มหากรุณาธิคุณเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญสภาคคุณอันใหญ่แห่งสมเด็จพระเมตไตรยเจ้า จึงมี
พระพุทธฎีกาตรัสโปรดประทานว่า เมื่อพระศรีอาริยโพธิสัตว์ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จัก
บริหารปกครองภิกษุสงฆ์มากกว่าพัน เหมือนตถาคตบริหารปกครองภิกษุสงฆ์ มีกำหนด
มากกว่าร้อยอยู่ทุกวันนี้ คำทั้งสองนี้มีอรรถต่างกัน คำเดิมนั้นมีอรรถเป็นสาวเสส คำภายหลัง
เป็นนิราวเสส สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณมิได้ทรงดำเนินตามบริษัทสาธุชนทั้งหลาย บริษัท
สาธุชนทั้งหลายตามสมเด็จพระองค์ ถ้อยคำที่ว่า อหํ มมํ นี้เป็นแต่สมมติไม่ใช่ปรมัตถ์ พระ
พุทธองค์เจ้าปราศจากความรักความเยื่อใยแล้ว ไม่คิดยึดถือว่าของเรา เป็นแต่อาศัยความยึด
เหนี่ยวเนื่องถึงกันเท่านั้น มีอุปมาดุจหนึ่งว่า แผ่นพสุธาดลอันใหญ่เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์
ทั้งหลาย แผ่นพสุธาจะได้ยินดียินร้ายแก่สัตว์ทั้งหลาย ว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นของอาตมา หรือไม่
เป็นของอาตมามิได้ อุปสฺสยํ เทติ ให้ที่อาศัยแก่สัตว์ทั้งหลายทั่วไปไม่เลือกหน้า ยถา มี
ครุวนาฉันใด สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้านี้ สพฺพสตฺตานํ ปติฏฺฐา ก็เป็นที่พึ่งอาศัยแก่เวไนย-